ทำอย่างไรให้พ้นทุกข์ ?
ตอบ ต้องปฎิบัติธรรมเพื่อให้จิตเราบริสุทธิ์จากกิเลส หรือให้ห่างไกลจากกิเลส แล้วจะพ้นทุกข์ เพราะกิเลสทำให้เกิดทุกข์ แล้วปฎิบัติอย่างไร ? พระพุทธเจ้าบอกมีทางอยู่เป็นทางพ้นทุกข์อย่างถาวร เรียกว่า มรรค8
มรรค8 คืออะไร ? ทางสายกลางเป็นทางที่จะนำพาให้ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสที่ก่อให้เกิดทุกข์
มี 8 ข้อ คืออะไรบ้าง ?
1. มีสัมมาทิฐิ(ปัญญา) คือความเห็นถูกเห็นชอบ ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เวรกรรมมีจริงมีชาตินี้มีชาติหน้า
2.มีสัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)คือความนึกคิดที่ดีงามเป็นกุศล เช่น คิดออกจากกาม ออกจากพยาบาท ออกจากความ
เบียดเบียน
3.มีสัมมาวาจา(ศีล)คือพูดดี 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4.มีสัมมากัมมันตะ(ศีล)คือกระทำถูก 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกามผิดลูกเมีย
5.มีสัมมาอาชีวะ(ศีล)คือเลี้ยงชีพในทางที่ถูก อย่าทำอาชีพที่เบียดเบียนเช่น ทำโรงฆ่าสัตว์ หรือค้าอาวุธสงคราม
6.มีสัมมาวายามะ(สมาธิ)คือพยายามถูก 1. เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้นในจิต 2.เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วในจิต3. เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นในจิตให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นในจิตแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7.มีสัมมาสติ(สมาธิ)คือระลึกชอบโดยปฎิบัติตาม สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
(ใช้สติดูขันธ์5ว่ามีส่วนไหนเป็นตัวเรา)
1.ตั้งสติพิจารณากาย รู้สึกถึงการเคลือนไหวของกาย ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจเข้า-ออก ดูกาย
ประกอบด้วยธาตุ4 และพิจารณาอาการ32 ผมขน เล็บ ฟัน หนัง และอื่นๆ มีแต่สิ่งสกปรก
ฯลฯ (กายานุปัสสนา)
2.ตั้งสติพิจาณาเวทนา รู้สึกถึง ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ (เวทนานุปัสสนา)
3.ตั้งสติพิจารณาจิต รู้สึกถึง จิตเกิดอารมณ์ เช่น จิตเกิดความโกรธ โลภ หลงสติ
ก็ให้รู้สึกเท่าทันอารมณ์นั้น (จิตตานุปัสสนา)
4.ตั้งสติพิจารณาธรรม รู้สึกถึง ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
หรือรู้สึกถึงไตรลักษณ์ (ธรรมานุปัสสนา)
8.มีสัมมาสมาธิ(สมาธิ)คือตั้งจิตมั่นชอบ นั่งสมาธิเอาความสงบหรือความนิ่งเป็นอารมณ็
ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย
1.ปฐมฌาณ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌาน มี ปิติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌาน มี สุข เอกัคคตา
4.จตุตถฌาน มี อุเบกขา เอกัคคตา
ความหมายในแต่ละฌาณคือ
- ปฐมฌาณ คือ สามารถกำจัดกามตัณหา และอกุศลจิตบางชนิด เช่นความกำหนัด พยาบาท เซื่องซึม วิตก กังวล ฟุ้งซ่าน และความสงสัยเสียได้ ทำให้มีปิติ และสุขตลอดจนมีพฤติกรรมทางจิตอย่างอื่นๆ
- ทุติยฌาณ คือ สามารถระงับกิจกรรมทางพุทธิปัญญาไว้ได้ จิตพัฒนาจนถึงขึ้นแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว (เอกัคคตา) กับยังมีปิติและสุขต่อไป
- ตติยฌาณ คือ ความรู้สึกอิ่มเอิบใจ (ปิติ) ซึ่งเป็นเวทนาอย่างหนึ่งได้ดับไปในขณะที่สุข และเอกัคคตายังมีอยู่ต่อไป
- จตุตถฌาน คือ ความรู้สึกทั้งหลายทั้งที่เป็นสุข และเป็นทุกข์ ทั้งที่เป็นปิติ และเศร้าโศก ดับไปทั้งหมด เหลือแต่เอกัคคตา และสติสัมปชัญญะ
ด้วยเหตุนี้ จิตสามารถฝึกหัด ควบคุมและพัฒนาได้ โดยอาศัย สัมมาวายะมะ สัมมาสติ และสัมมนาสมาธิ
ปฎิบัติสมาธิและสติให้มาก เจริญให้มาก แล้วจิตของเราจะห่างไกลจากกิเลส จะบริสุทธิ์จากกิเลส เมื่อถึงที่สุดแล้วจะไม่ทุกข์จะเข้าสู่นิพพาน เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เพราะการเกิดเป็นทุกข์ เราเกิดมาเป็นลูก
พระพุทธเจ้าเราต้องมีความอดทน และมีความเพียรเผากิเลสอยู่แบบสันโดษ อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เรื่องมากกับชีวิต
นั่งสมาธิ เพื่ออะไร ? เพื่อให้จิตสงบนิ่ง และตั้งมั่น เป็นการข่มกิเลส จิตจะได้พักผ่อน จะรู้สึกได้ว่าจิตเบาสบาย
อาจเกิดนิมิต แต่อย่าไปหลงยึดติด หลวงปู่ดุลย์ อตุโล บอก ที่เห็นเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นมันไม่จริง
แต่หากลืมตา เลิกนั่ง กิเลสก็ฟุ้งอีก จิตวุ่นวายสับสน ฉะนั้น การนั่งสมาธิจึงเป็นการข่มกิเลสไม่ให้ฟุ้งชั่วคราว
แต่ไม่สามารถกำจัดกิเลสได้ถาวร แต่ต้องฝึกนั่งสมาธิเพราะเป็นบาทฐานของการฝึกสติ และปัญญาต่อไป
เดินจงกลมเพื่ออะไร ? เพื่อให้เกิดสติ ปกติจิตจะวิ่งเร็วกว่าแสงถือว่าเร็วมาก สติถ้ายังไม่ได้ฝึกจะตามความเร็ว
ของจิตไม่ทัน การฝึกเดินจงกลมจึงต้องทำช้าๆ เพื่อให้สติตามความเร็วของจิตได้ทัน หากฝึกสติอยู่กับการ
เคลื่อนไหวทุกๆวัน หรือทำบ่อยๆ สติจะโตเป็นมหาสติ สติจะแข็งแรง จะตามความเร็วของจิตได้ทัน เมื่อนั้น
สติจะสามารถตัดอารมณ์หรือกิเลสที่เข้ามาสู่จิตได้ ไม่ให้ครอบงำจิตสำเร็จ จิตเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำก็ไม่
เป็นทาสของกิเลส ไม่ต้องทำตามกิเลส จิตก็จะอิสระ ผ่องใสเป็นปกติ แต่หากว่าสติยังไม่แข็งแรง รับอารมณ์
เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตเมื่อรับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ปรุงความโกรธ หากความโกรธครอบงำจิตสำเร็จ
100 เปอร์เซ็นต์ จิตจะตกเป็นทาสกิเลส กิเลสสั่งให้ชกหน้าคนพูดไม่ดี จิตก็จะสั่งกายอีกทีหนึ่ง ให้กายยื่นแขน
ไปชกหน้าไอ้คนที่พูด นี่คือกระบวนการทำงานของจิตของคนไม่ได้ฝึกสติ หากฝึกสติ จะรู้ทันจิตว่าเกิดความ
โกรธขึ้นในจิต เมื่อรู้ทัน ความโกรธก็จะดับไป จิตจะเกิดสติ ก็จะไม่ทำตามกิเลสคือตัวความโกรธก็ไม่เกิดวิบาก
หากจิตเราไม่ได้ฝึกสติให้แข็งแรง แพ้กิเลสหรือปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตสำเร็จอยู่ร่ำไป ตกเป็นทาสกิเลส
ก็จะเข้าสู่วัฎจักร ดังนี้ ไม่สิ้นสุด คือ
(ตัวหลอกให้กระทำกรรม)
กิเลส
กรรมดีกรรมชั่ว วิบาก
(การกระทำดี,ไม่ดี) (บุญสร้างสุข,บาปสร้างทุกข์)
ความหมายคือ กิเลสครอบงำจิตสำเร็จ จะสั่งให้จิตกระทำกรรม แล้วรับวิบากกรรมคือผลกรรม
สังเกต ตัวกิเลสเป็นตัวหลอกเราให้กระทำกรรม แต่คนที่รับวิบากกรรมคือเราไม่ใช่กิเลส
ฉะนั้น การรับบุญหรือบาปคือเราไม่ใช่กิเลส กิเลสมันนั่งหัวเราะเราว่าสามารถหลอกเราให้ทำกรรม
สำเร็จ เราโง่ไปเลยนะ
อยากหลุดวงจรอุบาทว์นี้ ก็ต้องตั้งใจฝึกสมาธิ ฝึกสติ ให้รู้เท่าทันกิเลสอย่าให้ครอบงำจิตสำเร็จ
ให้มีสติรู้ทันตัดกระแสกิเลสให้ได้ก่อนที่มันจะครอบงำจิตได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากตัดได้ก่อน
กิเลสจะทำอะไรเราไม่ได้ เราจะไม่ตกเป็นทาสของกิเลส ก็ไม่กระทำกรรม ไม่ต้องรับวิบาก
ถ้าจะถามว่าข้าพเจ้าเอาอะไรเป็นวิหารธรรม(ที่อยู่ของจิต) เรายังต้องมีบ้านเป็นที่อยู่อาศัย จิตก็เช่นกัน ?
ข้าพเจ้าตอบว่า เอา กายานุปัสสนาเป็นวิหารธรรมของจิต โดยฝึกจิตให้มีสติรู้สึกตัวอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่ทุกขณะปัจจุบันหรือบางทีก็ใช้ลมหายใจ เป็นที่อยู่ของจิต (อานาปาณสติ)โดยให้รู้สึกที่ลมหายใจเข้า หายใจออก เข้ายาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้ ออกยาวก็รู้ ออกสั้นก็รู้ บางคนใช้คำบริกรรมเป็นวิหารธรรมของจิตเช่น
คำว่า พุทโธ (ท่องในใจทั้งวันทำอะไรก็ท่องในใจ ตอนแรกอาจออกเสียงเบาๆก่อน)
คำว่า สัมมา อรหัง
คำว่า ยุบหนอ พองหนอ
จริงๆ คำบริกรรมเป็นเพียงอุบายให้เกิดสติเกิดสมาธิ เท่านั้น จริงๆแล้วเราจะใช้อะไรก็ได้ตั้งขึ้นเองก็ได้
อย่างเช่น หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านใช้คำบริกรรมว่า ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ อยู่ในเล้า …… ก็ได้ เป็นต้น
เวลามีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวร่างกาย จิตจะเป็นกลาง ไม่เกิดความยินดียินร้าย จะไม่ไปนึก ไปคิด ไปปรุงแต่ง
กิเลส จะจบที่การกระทบผัสสะ เพราะไม่มีการให้ค่าหรือปรุงแต่งต่อเติมเรื่องราวต่อไป จิตจะพ้นจากของคู่ จะไม่มีโลกนี้และโลกหน้าเมื่อเห็นจะเป็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินจะเป็นสักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสกายใจก็เช่นกันจะเป็นสักแต่ว่า อธิบายให้ง่ายๆ เช่น ดูทีวี หนังไทย นางเอกกำลังโดนนางอิจฉาใส่ร้ายตบตี เราก็จะรู้สึกโกรธนางอิจฉาสงสารนางเอก นั่นคือ จิตเราไปอยู่ในทีวีแล้ว เผลอสติแล้ว ปกติฝึกสติ ต้องให้จิตอยุ่กับกายหรือจิตเรา ไม่ส่งจิตออกนอก แต่ เมื่อส่งจิตออกนอกตัว เลยไปรับอารมณ์ภายนอก รู้สึกอินตามหนัง หากมีสติอยุ่ที่กาย เราจะไม่รู้สึกโกรธนางอิจฉา และจะไม่สงสารนางเอก พูดง่ายๆ คือ รู้เฉยๆ รู้แล้วจบแค่รู้ อย่าต่อเรื่องราวอย่าไปให้ค่า ไม่เข้าไปอินกับหนังทีวีที่ดู จะกลายเป็นเห็น ก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน จิตจะไม่ฟุ้งซ่านเป็นทุกข์ตามหนัง เห็นไหม เป็นการรักษาจิตให้สงบเป็นปกติไม่ใช่เป็นจิตที่เร่าร้อนเป็นทุกข์
ธรรมชาติจิตคนเราจะไหลลงสู่ที่ต่ำ ความดีต้องสอนกัน แต่ความไม่ดีไม่ต้องสอนเพราะทำตามกิเลสอยู่ร่ำไป
กิเลสจะทำให้เรา คิดไม่ดี ทำไม่ดี พูดไม่ดี เราต้องฝึก โดยใช้มรรค8หรือบางทีรวมเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
มาช่วยให้เราเกิดความคิดที่ดี ทำดี พูดดี จะได้หลุดพ้นเลิกเป็นทาสของกิเลส
กิเลสเป็นตัวก่อให้เกิดความทุกข์ จะพ้นทุกข์ ต้องละกิเลสให้ได้ แรกๆจะละกิเลส100 เปอร์เซ็นต์เลยคงไม่ได้
ต้องค่อยๆ ลด ละ เลิก ถ้าจะตัดกิเลสทันที กิเลสมันไม่ยอม อาจทำให้เราวิปลาสได้เช่นกัน
แผ่เมตตาบ่อยๆ เพื่อจิตจะได้รู้จักให้อภัย และจิตจะอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง จะเหมาะแก่การปฎิบัติธรรม
ปฎิบัติธรรมไปเรื่อยๆ แล้วหมั่นเช็คดูว่า ความโลภ โกรธ หลงสติ หรือกิเลส เราน้อยลงหรือไม่ ? ถ้าน้อยลงก็แปลว่าใช้ได้ละ ให้น้อยลงเรื่อยๆจนหมดไปเลยยิ่งดีนะ อย่าลืมปฎิบัติธรรมควรรักษาศีล8 นะจะดี
เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ ให้รักษาพรหมจรรย์ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากบริโภคอาหารผิดเวลา เว้นจาก
การฟ้อนขับประโคม ดูการละเล่น ทัดดอกไม้ ทาของหอมและเครื่องทาอันเป็นฐานแต่งตัว เว้นจากนอนบน
ที่นอนสูง ที่นอนใหญ่
ถ้าเป็นคนรักสวยรักงาม ก็ให้ไปหาภาพอสุภะ หรือซากศพที่เน่าๆ น่าเกลียดน่ากลัวมาดูแล้วจำไว้ พอนั่งสมาธิ
จนนิ่งก็เอาภาพที่จำไว้มาพิจารณาถึงความไม่งามของร่างกาย เพื่อจิตเราจะได้ไม่ยึดกับเนื้อหนังมังสาอีกต่อไป
เพราะการที่จิตไปยึดหรือเกิดอุปาทานกับอะไร สิ่งนั้นก็จะทำให้จิตเราทุกข์
พิจารณาร่างกายเรา เช่น ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นว่ามีแต่ธาตุ 4 และมีแต่สิ่งสกปรกคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนประกอบร่างกาย ให้เห็นความเป็นจริงของกายเรา เช่น นั่งสมาธิจนจิตนิ่ง แล้วพิจารณาขน ผม เล็บ ก็เป็นธาตุดิน เลือดก็เป็นธาตุน้ำ เราหายใจเข้าออก ก็เป็นธาตุลม ร่างกายเราต้องการธาตุไฟเพื่อให้อบอุ่น เป็นต้น
ขณะที่เราสิ้นลมหายใจ หากตอนนั้น จิตเราเป็นกุศล เราก็จะไปสู่
สุคติภูมิ คือ ที่อยู่ของสัตว์ที่มีความสุขมากกว่าความทุกข์ เป็นภูมิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของบุญ หรือ บุญนำเกิด เช่น มนุษยภูมิ หรือ เทวภูมิ
หากจิตเราเป็นอกุศล เราก็ไปสู่ทุคติภูมิซึ่ง เป็นภูมิที่อยู่ของสัตว์ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ความทรมาน ต้องอดอยากหิวโหยอยู่ตลอดเวลา ด้วยอำนาจของบาปที่ได้กระทำไว้ ดังนั้นบุญ-บาป จึงเป็นตัวผลักดันให้ต้องโคจรไปเกิดยังภพภูมิดังกล่าว
แต่หากตอนสิ้นลมหายใจเราสามารถประคับประคองจิตเราให้มีสติอยู่ เราจะไม่มีโลกนี้ และโลกหน้า คือไม่ต้อง
มาเกิดอีก ดับไม่เหลือไปเลย จบการเวียนว่ายตายเกิดเท่านี้ แต่ส่วนใหญ่จะประคับประคองสติไม่ได้เพราะไม่ได้
ฝึกหรือฝึกสติมาน้อย สติจึงไม่แข็งแรง เวลาใกล้สิ้นลม ขันธมารจะยกกองทัพมารุมเราถ้าสติแข็งแรงก็จะชนะ
ถ้าไม่แข็งแรง ไม่เร็ว ก็แพ้ เมื่อจะสิ้นลมหายใจเราต้องดับขันธ์ให้ได้
ปฎิบัติธรรมต้องใจเย็นๆๆๆๆ อย่าใจร้อน พูดไพเราะ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูรู้คุณ สังเกตดูกายดูใจเราโดยใช้ความรู้สึกดูอย่าดูกายใจคนอื่นหมั่นสร้างสติ สร้างปัญญา เพื่อให้จิตเราห่างไกลจากกิเลส เวลาเกิดปัญหาในชีวิต
อันดับแรกที่ต้องทำคือการตั้งสติก่อน เมื่อสติมาปัญญาจะเกิด แล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ ความทุกข์เกิดจากการมีกิเลส ๆ เกิดจากการมีอัตตาตัวตน เราจึงต้องปฎิบัติธรรมโดยการฝึกจิตให้มีสติ เพื่อใช้ดูขันธ์5 หรือดูรูป-นามว่า
มันเป็นเราหรือไม่จนรู้ความจริงว่าไม่ใช่ตัวเรา หลวงปู่ดุลย์ บอกว่า ถ้าหัวไม่มีผม เหาจะเกาะได้อย่างไร เช่นกัน
หากเราไม่มีอัตตาตัวตนกิเลสจะเกาะได้อย่างไร เมื่อกิเลสเกาะไม่ได้ทุกข์ก็ไม่เกิด มีความทุกข์ใจเกิดได้เพราะ
เราไปยึดกับตัวอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรา เช่น เกิดความโกรธ เราก็ไปยึดว่าเราโกรธคือมีตัวเราเป็นผู้
โกรธ จึงทุกข์ จริงๆ แล้วมีแต่ตัวโกรธเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เท่านั้น ไม่มีเรา แต่เรามองไม่เห็นเท่านั้นคิดว่ามีเรา
ถวายดอกไม้กับพระบ้าง สวดมนต์บ้าง ช่วยคนยากจนบ้าง บริจาคเสื้อผ้าเก่าบ้าง บริจาคเงินทำบุญกับวัด
กับโรงพยาบาลบ้าง พิมพ์หนังสือธรรมะแจกบ้าง ถวายพระพุทธเจ้ากับวัดบ้าง แผ่เมตตาบ่อยๆ นั่งสมาธิ
ฝึกสติ สอนธรรมะแก่คนรอบข้างให้เป็นคนดี ตักบาตร ฯลฯ ทำแล้วจิตจะอิ่มบุญผ่องใสได้บุญนะครับ
พุทธพจน์
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้
สติเป็นธรรมตื่นอยู่ของโลก สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พึงรักษาความดีดังเกลือรักษาความเค็ม ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
สังเกตว่า เราๆท่านๆ จะรู้สึกว่า โลกนี้มันเที่ยง ไม่ทุกข์ มีตัวตน บังคับได้ แต่พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ แต่บอก
ว่า โลกนี้ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้ ซึ่งฝืนกับความรุ้สึกของเรา
ถึงตรงนี้แล้วท่านทั้งหลายคงเข้าใจแล้วว่า เราปฎิบัติธรรมเพื่ออะไร เพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ไงละ โดยขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจของเราให้จิตเราสะอาด สงบ สว่าง จิตก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส ประภัสสร หรือเรียกว่าเข้าถึงจิตเดิมแท้แล้วและการทำชีทนี้ขึ้นมา ข้าพเจ้าไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอะไร เพียงต้องการให้ผู้ปฎิบัติธรรมรู้จุดมุ่งหมายของการปฎิบัติธรรมเท่านั้นการปฎิบัติธรรมจะอยู่ที่ไหน ก็ปฎิบัติได้ โดยให้มีสติ เมื่อยืน ก็รู้สึกว่ายืน เมื่อเดิน เมื่อนั่ง เมื่อนอน เมื่อเหยียดแขน เหยียดขา เมื่อกำลังกลืนอาหาร ดื่มน้ำ ขับถ่าย ก็ให้รู้สึกทุกอิริยาบถ สติจะแข็งแรงขึ้น จะโดขึ้นเป็นมหาสติ แล้วสติจะเป็นตัวช่วยที่ที่ดีที่สุดในการจะ ทำให้จิตเราบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์ ฉะนั้นควรปฎิบัติตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้แล้วความทุกข์จะไม่เกิดว่า
ละชั่ว (ละอกุศล)
ทำดี (ทำกุศล)
ทำจิตให้ผ่องใส(ฝึกสมาธิฝึกสติ)
จากผู้ปฎิบัติธรรมคนหนึ่ง…